Domo Jumping Up and Down Domo Jumping Up and Down

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Cardiopulmonary resuscitation : CPR

Cardiopulmonary resuscitation : CPR

ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ

ความหมาย
        
        การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิม ป้องกันเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร ซึ่งสามารถทำได้โดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support) ได้แก่ การผายปอด และการนวดหัวใจภายนอก

ลำดับขั้นในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ

              การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่สำคัญ คือ A B C ซึ่งต้องทำตามลำดับคือ
  1. A - Airway : การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
  2. B - Breathing : การช่วยให้หายใจ
  3. C - Circulation : การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง
1. A : Airway
            การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ซึ่งเป็นการปฏิบัติการขั้นแรก ที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะเนื่องจากโคนลิ้นและกล่องเสียงมีการตกลงไปอุดทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยที่หมดสติ ดังนั้นจึงต้องมีการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการดัดคางขึ้นร่วมกับการกดหน้าผากให้หน้าแหงนเรียกว่า "head tilt chin lift"   ในกรณีที่มีกระดูกสันหลังส่วนคอหัก หรือในรายที่สงสัย ควรใช้วิธี "jaw thrust maneuver" โดยการดึงขากรรไกรทั้งสองข้างขึ้นไปข้างบน ผู้ช่วยเหลืออยู่เหนือศีรษะผู้ป่วย


ทางเดินหายใจที่เปิดและปิด
ทางเดินหายใจที่เปิดและปิด

head tilt chin lift
head tilt chin lift


jaw thrust maneuver

jaw thrust maneuver


2. B : Breathing
            การช่วยหายใจ เนื่องจากการหายใจหยุด ร่างกายจะมีออกซิเจนคงอยู่ในปอดและกระแสเลือด แต่ไม่มีสำรองไว้ใช้ดังนั้น เมื่อหยุดหายใจ จึงต้องช่วยหายใจ เป็นวิธีที่จะช่วยให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอดผู้ป่วยได้ ซึ่งออกซิเจนที่เป่าออกไปนั้นมีออกซิเจนประมาณ 16-17 % ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในร่างกาย สามารถทำได้หลายวิธี คือ ด้วยการเป่าปาก (mouth to mouth) เป่าจมูก (mouth to nose) และวิธีการกดหลังยกแขนของโฮลเกอร์ - นิลสัน (back pressure arm lift or Holger - Nielson method) ทำได้ดังนี้
                   2.1 กรณีเป่าปาก
                         บีบจมูกของผู้ป่วย ผู้ช่วยเหลือหายใจเข้าปอดลึก ๆ ซัก 2-3 ครั้ง หายใจ เข้าเต็มที่แล้วประกบปากให้แนบสนิทกับปากของผู้ป่วย แล้วเป่าลมหายใจเข้าไปในปอดให้เต็มที่

Mouth to Mouth

การผายปอดด้วยวิธี mouth to mouth

                   2.2 กรณีเป่าจมูก
                         ใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บในปาก หรือในเด็กเล็ก ต้องปิดปากของผู้ป่วยก่อน และเป่าลมหายใจเข้าทางจมูกแทน
            ขณะที่เป่าให้เหลือบมองยอดอกของผู้รับบริการด้วยว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ การเป่าลมหายใจของผู้ช่วยเหลือผ่านทางปากหรือจมูก จะต้องทำอย่างช้าๆ ปล่อยปากหรือผู้ช่วยเหลือออกจากปากหรือจมูกของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจออก ให้ ผายปอด 2 ครั้ง ๆ ละ 1-1.5 วินาที (แต่ละครั้งได้ออกซิเจน 16 %)อัตราเร็วในการเป่า คือ 12 -15 ครั้ง / นาที ใกล้เคียงกับการหายใจปกติ

Mouth to Nose

การผายปอดด้วยวิธี mouth to nose

3. C : Circulation
            การนวดหัวใจภายนอก ทำในรายที่ประเมินภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยการจับชีพที่ carotid artery แล้วไม่พบว่ามีการเต้นของชีพจร ก็จะช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดโดยการกดนวดหัวใจภายนอก (cardiac massage) โดยมีหลักการคือ กดให้กระดูกหน้าอก (sternum) ลงไปชิดกับกระดูกสันหลัง ซึ่งจะทำให้หัวใจที่อยู่ระหว่างกระดูกทั้งสองอัน ถูกกดไปด้วย ทำให้มีการบีบเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกาย เสมือนการบีบตัวของหัวใจ
            วิธีนวดหัวใจ
                 1. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ บนพื้นแข็ง ถ้าพื้นอ่อนนุ่มให้สอดไม้กระดานแข็งใต้ลำตัว
                 2. วัดตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการนวดหัวใจ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางข้างที่ถนัด วาดจากขอบชายโครงล่างของผู้ป่วยขึ้นไป จนถึง ปลายกระดูกหน้าอก วัดเหนือปลายกระดูกหน้าอกขึ้นมา 2 นิ้วมือ แล้วใช้สันมือข้างที่ไม่ถนัดวางบนตำแหน่งดังกล่าว และใช้สันมือข้างที่ถนัดวางทับลงไป และเกี่ยวนิ้วมือให้นิ้วมือที่วางทับแนบชิดในร่องนิ้วมือของมือข้างล่าง (interlocked fingers) ยกปลายนิ้วขึ้นจากหน้าอก 
                 3. ผู้ช่วยเหลือยืดไหล่และแขนเหยียดตรง จากนั้นปล่อยน้ำหนักตัวผ่านจากไหล่ไปสู่ลำแขนทั้งสอง และลงไปสู่กระดูกหน้าอกในแนวตั้งฉากกับลำตัวของผู้เจ็บป่วย ในผู้ใหญ่และเด็กโต กดลงไปลึกประมาณ 1.5 - 2 นิ้ว ให้กดลงไปในแนวดิ่ง และอย่ากระแทก
                 4. ผ่อนมือที่กดขึ้นให้เต็มที่เพื่อให้ทรวงอกมีการขยายตัว และหัวใจได้รับเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจน ขณะที่ผ่อนมือไม่จำเป็นต้องยกมือขึ้นสูง มือยังคงสัมผัสอยู่ที่กระดูกหน้าอก อย่ายกมือออกจากหน้าอก จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกาย และมีเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ทำให้มีการไหลเวียนเลือดในร่างกาย
                 5. การกดนวดหัวใจจะนวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ในอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที ถ้าน้อยกว่านี้จะไม่ได้ผล



การวัดตำแหน่งและการนวดหัวใจภายนอก


หลักการ A B C ของการช่วยชีวิต
หลักการ A B C ของการช่วยชีวิต


การปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น


             1. เมื่อพบคนนอนอยู่ คล้ายหมดสติ ต้องลองตรวจดูว่าหมดสติจริงหรือไม่ โดยการเรียกและเขย่าตัว เขย่าหรือตบที่ไหล่ ถ้าหมดสติจะไม่มีการโต้ตอบ หรือมีเสียงคราง หรือมีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย


ตรวจสอบการหมดสติ


ตรวจสอบการหมดสติ 

             2. ประเมินการหายใจโดยการทำ look listen and feel

                    - look คือ ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก และหน้าท้องว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ หรือหายใจหรือไม่

                    - listen คือ ฟังเสียงลมหายใจ ดดยเอียงหูของผู้ช่วยเหลือเข้าไปใกล้บริเวณจมูกและปากของผู้ป่วย ว่าได้ยินเสียงออกมาทางจมูกหรือปากหรือไม่

                    - feel คือ สัมผัส โดยการใช้แก้มผู้ช่วยเหลือสัมผัสกับความรู้สึก ว่ามีลมหายใจผ่านออกจากปากหรือจมูก อาจใช้สำลีหรือวัสดุเบาบางจ่อบริเวณจมูก

 แสดงการทำ  look  listen and feel

การทำ look listen and feel 

             3. ถ้าพบว่าไม่หายใจให้เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น พร้อมทั้งจัดท่านอนหงายราบบนพื้อนแข็ง เริ่มขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นตอนที่ 1 Airway โดยการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ซึ่งเป็นการปฏิบัติการขั้นแรก ที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะเนื่องจากโคนลิ้นและกล่องเสียงมีการตกลงไปอุดทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยที่หมดสติ ดังนั้นจึงต้องมีการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการดัดคางขึ้นร่วมกับการกดหน้าผากให้หน้าแหงนเรียกว่า "head tilt chin lift" ในกรณีที่มีกระดูกสันหลังส่วนคอหัก หรือในรายที่สงสัย ควรใช้วิธี "jaw thrust maneuver" โดยการดึงขากรรไกรทั้งสองข้างขึ้นไปข้างบน ผู้ช่วยเหลืออยู่เหนือศีรษะผู้ป่วย

             4. ทดสอบการหายใจโดยการหายใจโดยการทำ look listen and feel อีกครั้งหนึ่ง ถ้ายังไม่หายใจให้ทำขั้นตอนต่อไป คือ Breathing คือ เป่าลมหายใจ 2 ครั้ง

             5. ทดสสอบว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ ด้วยการจับชีพจร ถ้าไม่มีหารเต้นของหัวใจ เปาปากอีก 2 ครั้ง แล้วทำ Circulation ด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที โดยการนับ 1 และ 2 และ 3 และ....... จนถึง 15 ครั้ง

             6. ทำสลับกันอย่างนี้ ไปจนครบ 4 รอบ ( 1นาที) จึงประเมินการหายใจและการเต้นของชีพจร และประเมินอีกทุก 1 นาที

            7. ถ้ามีผู้ช่วยเหลือมาช่วยอีก ให้แบ่งการทำหน้าที่ เช่น ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ผายปอด ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 กดนวดหัวใจ ผู้ช่วยเหลือแต่ละคนอาจเหนื่อยและต้องการเลี่ยนหน้าที่กัน โดยตะโกนว่า เปลี่ยน ก็สลับหน้าที่กัน

การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ 2 คน


การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ 2 คน


             8. ให้ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขึ้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องจนกระทั้งมีบุลคลากรนำอุปกรณ์มาช่วยเหลือเพิ่มเติม และรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที